Loading...

การบันทึกบัญชีการฝากขายด้านผู้ฝากขาย

วิธีการบันทึกบัญชีด้านผู้ฝากขายมี 2 วิธี คือ วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายแยกไว้ต่างหากจากการขายปกติของกิจการ และวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายรวมกับการขายปกติของ

กิจการซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ต้องคำนึงถึงระบบบัญชีเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้ด้วยว่าใช้ระบบใด วิธีบันทึกรายการสินค้ามี 2 ระบบ คือ ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง และระบบการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด

1. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขาย
2. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายแยกไว้ต่างหากจากการขายปกติของกิจการและใช้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
3. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายแยกไว้ต่างหากจากการขายปกติของกิจการและใช้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด
4. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายรวมกับการขายปกติของกิจการและใช้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
5. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายรวมกับการขายปกติของกิจการและใช้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด

1. การบันทึกบัญชีสินค้าฝากขาย

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากขายในสมุดบัญชีของผู้ฝากขายจะขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะแสดงรายการค่าขายสินค้าฝากขาย ต้นทุนสินค้าฝากขายและค่าใช้จ่ายของสินค้าฝากขาย

วิธีการบันทึกรายการบัญชีด้านผู้ฝากขาย มี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายแยกไว้ต่างหากจากการขายปกติของกิจการ
วิธีที่ 2 บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายรวมกับการขายปกติของกิจการ

การบันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าฝากขายด้านผู้ฝากขายทั้ง 2 วิธี สามารถบันทึกตามระบบบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System) หรือตามระบบบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System) ก็ย่อมได้

2. การบันทึกบัญชีสินค้าฝากขายแยกต่างหากจากขายปกติระบบสินค้าแบบต่อเนื่อง

1. เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต สินค้า (ราคาทุน)

2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต เงินสด

3. เมื่อได้รับรายงานขายจะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด
เครดิต ขายโดยการฝากขาย
หรือ
เดบิต เงินสด
ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย

4. บันทึกต้นทุนสินค้าฝากขาย จะเป็นดังนี้
เดบิต ต้นทุนสินค้าฝากขาย
ค่าใช้จ่ายในการฝากขาย
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย

5. บันทึกกำไรขาดทุนจากการฝากขาย จะเป็นดังนี้
กรณีกำไรจากการฝากขาย
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย
กรณีขาดทุนจากการฝากขาย
เดบิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย

3. บันทึกบัญชีสินค้าฝากขายแยกไว้ต่างหากจากขายปกติระบบสินค้าสิ้นงวด

1. เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต สินค้าส่งไปฝากขาย

2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต เงินสด หรือ ค่าใช้จ่าย

3. เมื่อได้รับรายงานขายจะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด
เครดิต ขายโดยการฝากขาย
หรือ
เดบิต เงินสด
ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย

4. บันทึกต้นทุนสินค้าฝากขายจะเป็นดังนี้
เดบิต ต้นทุนสินค้าฝากขาย
ค่าใช้จ่ายในการฝากขาย
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย

5. บันทึกโอนปิดบัญชีสินค้าส่งไปฝากขายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต สินค้าส่งไปฝากขาย
เครดิต กำไรขาดทุน

6. บันทึกกำไรขาดทุนจากการฝากขายจะเป็นดังนี้
กรณีกำไรจากการฝากขาย
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย
กรณีขาดทุนจากการฝากขาย
เดบิต กำไรขาดทุนจากการฝากขาย
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย

4. การบันทึกบัญชีสินค้าฝากขายรวมกับขายปกติระบบสินค้าต่อเนื่อง

1. เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขายจะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต สินค้า (ราคาทุน)

2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากขาย ผู้ฝากขายจะบันทึกบัญชีเหมือนกับค่าใช้จ่ายโดยปกติของกิจการ ดังนี้
เดบิต ค่าใช้จ่าย
เครดิต เงินสด

3. เมื่อได้รับรายงานขายและเงินจากผู้รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
เค่านายหน้า
เครดิต ขายสินค้า
หรือ
เดบิต เงินสด (ยอดสุทธิ)
เครดิต ขายสินค้า (ยอดสุทธิ)

4. บันทึกต้นทุนขายจะเป็นดังนี้
เดบิต ต้นทุนขาย
เครดิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย

5. การบันทึกบัญชีสินค้าฝากขายรวมกับขายปกติระบบสินค้าสิ้นงวด

1. เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย ผู้ฝากขายอาจทำเพียงการจดบันทึกความจำรายการส่งสินค้าไปฝากขาย โดยไม่ต้องบันทึกบัญชีหรือบันทึกรายการบัญชีระหว่างส่งสินค้าไปฝากขาย ดังต่อไปนี้ก็ได้
เดบิต ฝากขาย – ผู้รับฝากขาย
เครดิต สินค้าส่งไปฝากขาย

2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากขาย ผู้ฝากขายจะบันทึกบัญชีเหมือนกับค่าใช้จ่ายโดยปกติของกิจการ ดังนี้
เดบิต ค่าใช้จ่าย
เครดิต เงินสด

3. เมื่อได้รับรายงานขายและเงินจากผู้รับฝากขาย จะบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต เงินสด
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
เค่านายหน้า
เครดิต ขายสินค้า
หรือ
เดบิต เงินสด (ยอดสุทธิ)
เครดิต ขายสินค้า (ยอดสุทธิ)

Tags

บทความอื่นๆ


การคำนวณเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มภาษี

ค่าปรับอาญา (กรณีไม่ได้ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด) ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53 ยื่นภายใน 7 วันเสีย 100 บาท ยื่นภายหลัง 7 วันเสีย 200 บาท ภ.ง.ด. 90, ภ.ง.ด. 91, ภ.ง.ด. 94 ยื่นล่าช้า ยื่นภายใน 7 วันเสีย 100 บาท ยื่นภายหลัง 7 วันเสีย 200 บาท ภ.พ. 30, ภ.ธ. 40 ยื่นล่าช้า ยื่นภายใน 7 วันเสีย 300 บาท ยื่นภายหลัง…

Read More


ประโยชน์ที่ได้รับจากบริษัทรับทำบัญชี

การทำธุรกิจมีความซับซ้อนและยุ่งยาก การมุ่งเน้นในส่วนงานที่ตัวเองถนัดจะทำให้ธุรกิจของท่านเจริญเติบโตเร็วขึ้น แล้วมอบหมายหน้าที่การทำบัญชีให้บริษัทรับทำบัญชีมืออาชีพบริหารงานด้านการทำบัญชีและภาษีให้ท่าน • เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ• ลดภาระในการควบคุมและบริหารงานด้านบัญชี• เพื่อให้กิจการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี• เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจของธุรกิจ• เพื่อได้งบการเงินที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ และจัดทำตามพรบ.การบัญชี และประมวลรัษฎากร• เพื่อวางแผนภาษีอากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ• เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกสรรพากรตรวจสอบ• สามารถจัดทำเพื่อยื่นแบบภาษีอากรของธุรกิจได้อย่างถูกต้องทันเวลา• มั่นใจได้ในความถูกต้องและครบถ้วนในการบันทึกบัญชี• ไม่ต้องประสบปัญหาในการหาพนักงานและฝึกอบรมใหม่เนื่องจากการลาออกของพนักงานบัญชี

Read More